
การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหา
จากขั้นตอนการแก้ปัญหาทั้ง 4 ขั้นตอน จะเห็นว่าขั้นตอนที่สำคัญ คือ การวางแผน
ในการแก้ปัญหา สำหรับการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก เรามักจะมีคำตอบให้กับ
การแก้ปัญหาได้ในทันที เสมือนกับว่าคำตอบของปัญหาได้ถูกกำหนดไว้แล้วโดยที่ไม่ได้
ตะหนักถึงกระบวนการคิดที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหา และนำเราไปถึงคำตอบ
ของปัญหา การนำแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้จากการวางแผนในการแก้ปัญหาไปดำเนินการโดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น จำเป็นต้องวางแผนให้เป็นขั้นตอน
เป็นระเบียบ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้ทำได้โดยอาศัยการถ่ายทอดความคิด
ที่มีการกำหนดจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และลำดับก่อนหลังของขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ชัดเจน
เครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่
1. รหัสลำลองหรือ Pseudocode เป็นการเขียนแสดงขั้นตอนในการแก้ปัญหา
โดยใช้ข้อความที่กะทัดรัด เข้าใจได้ง่าย มีการลำดับก่อนหลัง และกำหนดจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่าง เช่น
ตัวอย่าง การเดินทางไปโรงเรียน
2. ผังงานหรือ Flowchart มักถูกใช้เป็นเครื่องมือในขั้นตอนการวางแผนในการแก้ปัญหาสำหรับการดำเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ดังนั้นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (The American National Standard Institute : ANSI) ได้กำหนดสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานในการเขียนผังงานไว้ ซึ่งในที่นี้
จะแนะนำการใช้งานเพียง 5 สัญลักษณ์พื้นฐาน ดังนี้



ตัวอย่าง การเดินทางไปโรงเรียน













จากตัวอย่าง นักเรียนจะเห็นว่าสัญลักษณ์ทางเลือกจะมี 2 กรณี คือ ง่วง ก็จะนอนต่อ 10 นาที แล้วค่อยตื่นไปอาบน้ำ แต่ถ้าเป็นกรณีที่สอง คือกรณีไม่ง่วง หลังจากที่ตื่นนอนแล้วก็จะไปอาบน้ำทันที เพื่อแต่งตัวไปโรงเรียน นักเรียนจะเห็นได้ว่า สองกรณีนี้มีเหตุการณ์ที่แตกต่าง และเราใช้สัญลักษณ์ในการตัดสินใจแทนสัญลักษณ์ปฏิบัติการ




